วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

พิธีลอยอังคาร

พิธีลอยอังคาร

ลำดับพิธี

การบูชาแม่ย่านางเรือ

- คณะญาติมิตรนำอังคารไปสู่ท่าเทียบเรือ
- พิธีกรนำประธานในพิธี ญาติอาวุโส ) ลงเรือก่อน นอกนั้นรอบนท่าเทียบเรือ
- ประธานฯ นำดอกไม้ธูปเทียน ใส่รวมในพาน จุดบูชาแม่ย่านางที่หัวเรือ )
   กล่าวบูชา และขออนุญาตแม่ย่านางเรือโดยประธานกล่าวเอง หรือพิธีกรนำกล่าว

คำกล่าวบูชาขออนุญาตแม่ย่านางเรือ

นะมัตถุ/  นาวานิวาสินิยา/  เทวตายะ/  อิมินา  สักกาเรนะ/  นาวานิวาสินิง/  เทวตัง/  ปูเชมิ/
                ข้าพเจ้า/  ขอน้อมไหว้บูชาแม่ย่านางเรือ/  ผู้คุ้มครองรักษาเรือลำนี้/  ด้วยเครื่องสักการะเหล่านี้
ด้วยข้าพเจ้า/  พร้อมด้วยญาติมิตร/  ขออนุญาตนำอัฐิและอังคารของ……………………….ลงเรือลำนี้/   ไปลอยในทะเล/  ขอแม่ย่านางเรือ/  ได้โปรดอนุญาต/  ให้นำอัฐิและอังคารลงเรือได้/  และได้โปรดคุ้มครองรักษา/  ให้ข้าพเจ้าและญาติมิตรกระทำพิธีลอยอัฐิและอังคาร/  ด้วยความสะดวกและปลอดภัย/  โดยประการทั้งปวง เทอญ
- คณะญาติมิตรนำอังคารลงเรือ
- ออกเรือไปยังจุดที่จะลอยอังคาร
การไหว้อังคารบนเรือก่อนทำพิธีลอยลงน้ำ
- เมื่อเรือแล่นถึงจุดหมายแล้วให้หยุดเรือลอยลำ
- พิธีกรเปิดลุ้งอังคารจัดเครื่องไหว้อังคารให้ประธาน ฯ
- ประธานฯ จุดธูปเทียนไหว้อังคาร สรงด้วยน้ำอบไทย  โรยดอกมะลิ  กลีบกุหลาบ  ดอกไม้อื่น ๆ
- เมื่อทุกคนไหว้อังคารเสร็จแล้วพิธีกรห่อลุ้งอังคารด้วยผ้าขาวยาว กว้าง๑/๒ เมตร รวบมัดด้วยสายสิญจน์  
   ทำเป็นจุกข้างบนแล้วสวดสวมพวงมาลัย
- พิธีกรแจกดอกกุหลาบให้คณะญาติมิตรคนละ ๑ ดอก
การบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดร
- พิธีกรจัดเครื่องบูชาเจ้าแม่นที – ท้าวสีทันดรให้ประธาน ฯ
- ประธาน ฯ จุดเทียน ๑ เล่ม และธูป ๗ ดอก ที่กระทงดอกไม้ ๗ สี
  กล่าวบูชา/กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นทีสีทันดร โดยประธาน ฯ กล่าวเอง หรือพิธีกรกล่าวนำ


คำกล่าวบูชา/กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นทีท้าวสีทันดร
ตั้งนะโม ๓ จบ )
                นะมัตถุ/  อิมิสสัง/  มะหานะทิยา/  อะธิวัตถานัง/  สุรักขันตานัง/สัพพะเทวานัง/   อิมินา 
สักกาเรนะ  /  สัพพะเทเว/  ปูเชมะ.
                ข้าพเจ้าทั้งหลาย/  ขอน้อมไหว้บูชา/  เจ้าแม่นที/  ท้าวสีทันดร/  และเทพยดาทั้งหลาย/  ผู้สถิตคุ้มครองรักษาอยู่/  ในทะเลนี้/  ด้วยเครื่องสักการะนี้/ ด้วยข้าพเจ้าทั้งหลาย/ได้ประกอบกุศลกิจ/อุทิศส่วนบุญแก่……………………/ผู้วายชนม์และกาลบัดนี้/  จักได้ประกอบพิธี/  ลอยอัฐิและอังคารของ………………………../พร้อมกับขอฝากไว้/ในอภิบาล/  ของเจ้าแม่นที/  ท้าวสีทันดร/  เจ้าแม่แห่งทะเล/  และเหล่าทวยเทพทั้งปวง/ ขอเจ้าแม่นที/ท้าวสีทันดรแม่ย่านางเรือและเทพยดาทั้งหลาย/ได้โปรดอนุโมทนา/ดลบันดาลให้ดวงวิญญาณของ……………………/จงเข้าถึงสุคติ/  ในสัมปรายภพ/  ประสบสุข/ในทิพยวิมาน/  ชั่วนิรันดร์กาลเทอญ.
วิธีลอย
เมื่อกล่าวบูชา/กล่าวฝากอังคารกับเจ้าแม่นที-ท้าวสีทันดร เสร็จแล้วพิธีกรเชิญทุกคนยืนขึ้นไว้อาลัยประมาณ ๑ นาที
- ประธานฯ โยนเงินเหรียญ ( ตามสมควร ) ลงทะเล เพื่อซื้อที่ตามธรรมเนียมแล้วลงบันไดเรือทางกาบ 
  ซ้าย ลอยกระทงดอกไม้  ๗ สีโดยใช้มือประคองค่อย ๆ วางบนผิวน้ำโดยให้ผู้ร่วมพิธีทุกคนถือ
   สายสิญจน์ด้วย
- หากกาบเรือสูงจากผิวน้ำมากเกินไป และไม่มีบันไดลงเรือ ให้ใช้สายสิญจน์ทำเป็นสาแหรก ๔ สาย  
   จำนวน ๒ สาแหรก คือใส่กระทงดอกไม้ ๗ สี ๑ สาแหรก และใส่ห่อลุ้งอังคาร ๑ สาแหรกหย่อนลงไป
   ( ห้ามโยน )
- เมื่อห่อลุ้งอังคารลงสู่ผิวน้ำแล้วให้โรยดอกกุหลาบ  ธูปเทียนตามลงไปและสิ่งของสำหรับไหว้บูชาที่
   เหลือทั้งหมดก็ให้โรยตามลงไปด้วย
- เรือวนซ้าย    รอบ
- เสร็จพิธี -

ทำไมต้องลอยอังคาร

ทำไมต้องลอยอังคาร  ?   ไม่ลอยได้ไหม  ?


พิธีลอยอังคาร ถือว่าเป็นพิธีการสุดท้ายในขั้นตอนการพิธีศพ คือนำอัฐิและอังคารส่วนหนึ่งไปไว้ในที่อันเหมาะสม ทั้งนี้โดยถือปฏิบัติตามคตินิยมว่า ผู้ล่วงลับไปแล้วจะมีความร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากความทุกข์ความเดือดร้อน บรรดาญาติของผู้ตายมีความประสงค์ให้ผู้ตายแม้เกิดที่ใดๆ ก็ให้อยู่เป็นสุขเหมือนน้ำที่มีแต่ความชุ่มเย็น จึงนิยมลอยอังคารในน้ำ 
...การบำเพ็ญกุศลก่อนจะนำอังคารไปลอยตามที่กำหนด นิยมบำเพ็ญกุศลบังสุกุลให้เสร็จเรียบร้อยก่อนนำอังคารลงเรือ จะทำก่อนหลายวันหรือทำในวันลอยก็ได้ จะนิมนต์พระสงฆ์จำนวนกี่รูปนั้นขึ้นอยู่กับศรัทธาของเจ้าภาพ (พระ ๑-๔ รูป) ไม่ควรนิมนต์พระสงฆ์ลงไปในเรือเพื่อให้ท่านบังสุกุล เพราะอาจจะเกิดความไม่สะดวกและเป็นความลำบากของพระ (หากจะนิมนต์พระที่คุ้นเคยลงไปในพิธีด้วยบ้างก็ได้)

ส่วนใหญ่แล้ว การลอยอังคารเป็นความเชื่อ เพื่อให้คนที่เสียชีวิตไปแล้วจะสงบสุข อยู่เย็นเป็นสุข ทำแบบนี้เพื่อให้คนตายไปแล้วได้อยู่เย็นเป็นสุขในอีกภพอีกชาตินึง

บางคนก็เก็บกระดูกไว้ที่วัดหรือที่บ้านเพื่อให้ลูกหลานได้กราบไหว้หรือเพื่อระลึกถึง   บางคนก็กระดูกไปทำแบบเป็นพลุยิงขึ้่นฟ้าเพื่อส่งให้ไปถึงสวรรค์    แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละคนแต่ละพื้นที่  ส่วนที่นำไปลอยอังคารผู้ใหญ่หลายท่านบอกว่า เกรงว่าต่อไปลูกหลานจะไม่สนใจที่จะกราบไหว้เลยให้นำไปลอยอังคาร 

ส่วนเวลาและสถานที่ ที่มีผู้นิยมไปลอยอังคารก็มีหลากหลาย ใกล้ไกล แล้วแต่สะดวก
ส่วนเวลาที่จะลอยอังคาร เวลาที่เหมาะสมคือความสะดวก (แต่ไม่ควรจะมืดค่ำจนเกินไป)



วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การลอยอังคาร

“คำว่า “อังคาร” นั้น หมายถึง ถ่านไม้ ถ่านเผา ถ่านไฟที่กำลังปะทุอยู่
ใน คำวัดหมายถึงเถ้าถ่านของศพ ที่เผาแล้ว แต่มักเข้าใจกันว่าหมายถึงอัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว และเมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้วนิยมรวบรวมอังคารห่อด้วยผ้าขาวหรือ ใส่โถแล้ว ห่อด้วยผ้าขาวนำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายได้อยู่ในสถานที่เย็นๆ โดยไม่มีใครรบกวน เรียกการกระทำอย่างนั้นว่า ลอยอังคาร

สำหรับคนที่เห็นว่าการจัดการกับอัฐิและอังคารเป็นหมายสุดท้ายที่จะกระทำให้แก่ผู้ที่ท่านรักซึ่งได้เสียชีวิตจากโลกนี้ไปอยู่โลกใหม่แล้ว

ทะเลจึงเป็นสถานที่ที่เหมาะที่สุด แต่ถ้าหากไม่สะดวกที่จะเดินทางไปที่ทะเล ก็อาจจะใช้แม่น้ำเป็นที่ลอยอัฐิและอังคารแทนก็ได้

ท่านผู้รู้จึงได้แนะนำว่า ก่อนที่จะนำอัฐิและอังคารไปลอยน้ำ ก็ควรจะเก็บอัฐิส่วนหนึ่งไว้ที่อนุสาวรีย์ในวัดหรือในสุสานเพื่อที่ว่าลูกหลานของผู้ตายทั้งในปัจจุบันและในอนาคตจสามารถไปเยี่ยมเยียนเพื่อทำความเคารพและสักการะตามโอกาสอันควรได้

“การลอยอังคารไม่เพียงแต่เป็นการฝากคนที่เรารักไว้กับแม่พระคงคา เทพยดาผู้รักษาน้ำ เพื่ออภิบาลดวงวิญญาณของผู้นั้น เท่านั้น แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการละวางทั้งปวง ร่างกาย สังขาร ทั้งหลาย เมื่อแตกดับ กลับคือสู่ธาตุต่างๆที่มาประชุมกัน เหลือเพียงผงธุลี ฝากไว้ในอากาศ ในดิน ในน้ำกลับคืนสู่ … บ้าน อันนิรันดร์และแท้จริงของสรรพสิ่งทั้งมวล”

เรือแก้วบริการ .....เราให้บริการออกเรือไปลอยอังคารให้ผู้วายชนม์ ณ บริเวณ ปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย ........

บริการเรือลอยอังคาร จังหวัดสมุทรปราการ ( ท่าเรือวัดบางนางเกรง ไป ปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา) พร้อมทำพิธี.